fbpx
bannerpoly.jpg
bannerpoly.jpg
bannerpoly.jpg
bannerpoly.jpg
previous arrow
next arrow

           " ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

          สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า มณิคราม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ . 2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

 

คำขวัญประจำจังหวัด 

          " ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "

 

การปกครอง  แบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 

          อำเภอเมืองภูเก็ต

                    - ตำบลตลาดใหญ่ (Talat Yai)
                    - ตำบลตลาดเหนือ (Talat Nuea)
                    - ตำบลเกาะแก้ว (Ko Kaeo)
                    - ตำบลรัษฎา (Ratsada)
                    - ตำบลวิชิต (Wichit)
                    - ตำบลฉลอง (Chalong)
                    - ตำบลราไวย์ (Rawai)
                    - ตำบลกะรน (Karon)

          อำเภอกะทู้

                    - ตำบลกะทู้ (Kathu)
                    - ตำบลป่าตอง (Pa Tong)
                    - ตำบลกมลา (Kamala)

          อำเภอถลาง

                    - ตำบลเทพกระษัตรี (Thep Krasattri)
                    - ตำบลศรีสุนทร (Si Sunthon)
                    - ตำบลเชิงทะเล (Choeng Thale)
                    - ตำบลป่าคลอก (Pa Khlok)
                    - ตำบลไม้ขาว (Mai Khao)
                    - ตำบลสาคู (Sakhu)

 

อาณาเขต

          ทิศเหนือ  จดช่องปากพระ จังหวัดพังงา เชื่อมโดยสะพานสารสินและสะพานท้าวเทพกษัตรีย์
          ทิศใต้  จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
          ทิศตะวันออก  จดทะเลเขตจังหวัดพังงา
          ทิศตะวันตก  จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

 

Attachments:
FileDescriptionFile size
Download this file (ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดภูเก็ต โดย www.phuket.go.th.pdf)ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดภูเก็ตโดย www.phuket.go.th236 kB
Download this file (ข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต.pdf)ข้อมูลเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตโดย กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดภูเก็ต2262 kB